วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 01/24-06-2552

1. ความหมายของโครงสร้างข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้
โครงสร้าง (Structure) คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม


โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ใน
โครงสร้างนั้น ๆ รวมทั้งกระบวนการในการ
จัดการข้อมูลในโครงสร้าง เช่น เพิ่ม แก้ไข ลบ
ตัวอย่างของโครงสร้างข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ ได้แก่แถวลำดับ สตริง ลิสต์ สแตก
คิว ทรี และกราฟ เป็นต้น


2. ประเภทของโครงสร้างข้อมูล

โครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กัน
อยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
(Physical Data Structure)
2. ประเภทของโครงสร้างข้อมูล
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ


2.1 โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาคอมพิวเตอร์
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะข้อมูล คือ
(Logical Data Structure)



1. ข้อมูลเบื้องต้น (Primitive Data Types)
ได้แก่ จำนวนเต็ม (Integer) จำนวนจริง
(Real) และตัวอักขระ (Character

2. ข้อมูลโครงสร้าง (Structured Data Types)
ได้แก่ แถวลำดับ (Array) ระเบียนข้อมูล
(Record) และ แฟ้มข้อมูล (File)


2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากการจินตนาการของผู้ใช้
เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. โครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้น (Linear Data Structures)
ความสัมพันธ์ของข้อมูลจะเรียงต่อเนื่องกัน เช่น ลิสต์ (List)
สแตก (Stack) คิว (Queue) สตริง (String) เป็นต้น


2. โครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น
(Non-Linear Data Structures)
ข้อมูลแต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูล
อื่นได้หลายตัว
ได้แก่ ทรี (Tree) และกราฟ (Graph)


3. การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำหลัก
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะมีการแทนที่
ข้อมูลในหน่วยความจำหลักอยู่ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลแบบ สแตติก
(Static Memory Representation)
2. การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก
(Dynamic Memory Representation)

3.1 การแทนที่ข้อมูลแบบสแตติก

เป็นการแทนที่ข้อมูลที่มีการจองเนื้อที่แบบ
คงที่แน่นอนต้องมีการกำหนดขนาดก่อนการ
ใช้งาน แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถปรับ
ขนาดให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ โครงสร้าง
ข้อมูลที่มีการแทนที่หน่วยความจำหลัก


3.2 การแทนที่ข้อมูลแบบไดนามิก
เป็นการแทนที่ข้อมูลที่ไม่ต้องจองเนื้อที่ ขนาด
ของเนื้อที่ยืดหยุ่นได้ตามความต้องการของผู้ใช้
หน่วยความจำที่ไม่ใช้สามารถส่งคืนเพื่อนำ
กลับมาใช้ใหม่ได้อีก โครงสร้างข้อมูลที่มีการ
แทนที่หน่วยความจำหลักแบบไดนามิก
คือ ตัวชี้ หรือ พอยเตอร์ (pointer)
แบบสแตติก คือแถวลำดับ (Array)


4. ขั้นตอนวิธี (Algorithm)
เป็นวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ
มีลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนกระทั่งได้ผล
ลัพธ์ สามารถเขียนได้หลายแบบ การ
เลือกใช้ต้องเลือกใช้ขั้นตอนวิธีที่
เหมาะสม กระชับและรัดกุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น